วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน้าปก

โครงสร้างร่างกายมนุษย์


เสนอ

อาจารย์ศุภสัณห์   แก้วสำราญ


จัดทำโดย

นางสาวจริยา   เจริญพร   เลขที่ 24

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต


ภาคเรียนที่่ 1 ปีการศึกษา 2557


โรงเรียนเมืองกระบี่

คำนำ

คำนำ

       รายงานเล่มนี้    รายวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  กลุ่มสาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เป็นเนื้อเกี่ยวกับทางวิชาการในเรื่องโครงสร้างร่างกายมนุษย์ รายงานเล่มนี้เน้นการสร้างความรู้และคำอธิบายเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกายของตัวเรา รายงานเล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม
       หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักการ
และจุดมุ่งหมาย   ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้


(นางสาวจริยา   เจริญพร)

ร่างกายมนุษย์

กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (Human Anatomy) หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ
โครงสร้างของร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบเป็นรูปร่างของร่างกาย รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะต่างๆ ว่าอยู่ส่วนไหนของร่างกาย และส่วนต่างๆนี้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร
       สรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology) คือวิชาที่ศึกษาหน้าที่การทำงานของส่วนหรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ เมื่อรวมเข้ากันเป็นอวัยวะและระบบต่างๆ เหล่านี้ต้องทำงานประสานกันเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้ตามปกติ
ดังนั้นการศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ จึงเป็นการศึกษาถึง

โครงสร้างร่างกายและส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายทั้งระดับภายนอกและภายใน ระดับโครงสร้างขนาดใหญ่จนถึงโครงสร้างขนาดเล็ก ตลอดจนการศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของระบบร่างกาย ดังนั้น การเรียนร่างกายมนุษย์ในระบบต่างๆ จึงต้องศึกษาทั้งกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ไปควบคู่กันทั้งคนปกติและคนที่เจ็บป่วย เพื่อให้เราสามารถดูแลรักษาและป้องกันการเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม

ส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์

1.2          สามารถแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
1) ศีรษะและคอ (Head and Neck)
สมอง (Brain)
ใบหน้า (Face)
หู (Ears)
เบ้าตา (Orbit)
ตา (Eye)
ปาก (Mouth)
ลิ้น (Tongue)
ฟัน (Teeth)
จมูก (Nose)
หนังศีรษะ (Scalp)
กล่องเสียง (Larynx)
คอหอย (Pharynx)
ต่อมน้ำลาย (Salivary Glands)
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid)
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)

2) ลำตัว แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ อก ท้อง ท้องน้อย
กระดูกสันหลัง (Vertebra) และไขสันหลัง (Spinal Cord)
ต่อมน้ำนม (Mammary Gland)
ปอด (Lungs)
หัวใจ (Heart)
ประจันอก (Mediastinum)
หลอดอาหาร (Esophagus)
กะบังลม (Diaphragm)
ต่อมไทมัส (Thymus)
เยื่อบุช่องท้อง (Peritoneum)
กระเพาะอาหาร (Stomach)
ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือ ดูโอดีนัม (Duodenum)
ลำไส้ (Intestine)
ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ลำไส้ใหญ่ (Colon)
ตับ (Liver)
ม้าม (Spleen)
ตับอ่อน (Pancreas)
ไต (Kidney)
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)
ไส้ติ่ง (Vermiform Appendix)
เชิงกราน (Pelvis)
กระเบนเหน็บ (Sacrum)
ก้นกบ (Coccyx)
รังไข่ (Ovaries)
ท่อนำไข่ (Fallopian Tube)
มดลูก (Uterus)
ช่องคลอด (Vagina)
โยนี (Vulva)
คลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (Clitoris)
ฝีเย็บ (Perineum)
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder)
อัณฑะ (Testicles)
ไส้ตรง (Rectum)
องคชาต (Penis)

3) แขนและขา
กล้ามเนื้อ (Muscle)
กระดูก (Skeleton)
เส้นประสาท (Nerves)
มือ (Hand)
ข้อมือ (Wrist)
ข้อศอก (Elbow)
ไหล่ (Shoulder)
สะโพก (Hip)
เข่า (Knee)
ข้อเท้า (Ankle)
จากส่วนหลักของร่างกายเหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามนุษย์เพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้ เพศหญิงและเพศชายยังมีลักษณะอื่นที่แตกต่างกัน เช่น เพศชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิงและบึกบึนกว่า ในขณะที่เพศหญิงจะกลมกลึงและสวยงามกว่า นอกจากนี้ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ อวัยวะสืบพันธุ์และลักษณะทางเพศ ซึ่งจะได้กล่าวในบทเรียนส่วนต่อไป

การจัดลำดับโครงสร้างร่างกายมนุษย์

ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นประกอบด้วย
ส่วนประกอบย่อยๆ หลายส่วนมารวมกัน เพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน โดยสามารถจัดลำดับโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ได้ดังนี้
1)  อะตอม เป็นหน่วยย่อยที่สุดของสารซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้
2)  โมเลกุล เกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุแต่ละชนิด ได้สารที่มีขนาด
ใหญ่ขึ้น และมีหน้าที่เฉพาะในร่างกาย เช่น สารอาหารต่างๆ ฮอร์โมน เอนไซม์ น้ำย่อย เป็นต้น
3)  เซลล์ จัดเป็นหน่วยย่อยที่สุดในการทำงานของร่างกายมนุษย์ เซลล์เหล่านี้ประกอบ
ขึ้นจากการรวมของโมเลกุลต่างๆ ซึ่งมักมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เซลล์มีรูปร่างแตกต่างกัน โดยรูปร่างของเซลล์จะเหมาะกับลักษณะการทำงานของเซลล์ เช่น เซลล์ประสาทมีแขนงมากมายซึ่งจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเซลล์
4)  เนื้อเยื่อ เกิดจากการรวมกลุ่มของเซลล์ชนิดเดียวกัน เพื่อมาทำหน้าที่ร่วมกัน
โดยเฉพาะ เช่น เนื้อเยื่อปอด เนื้อเยื่อบุผิว เป็นต้น
5)  อวัยวะ เกิดจากการรวมกลุ่มของเนื้อเยื่อหลายชนิดที่มาทำหน้าที่ร่วมกัน เช่น
หัวใจ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวชั้นนอก กล้ามเนื้อชั้นกลางและกล้ามเนื้อชั้นใน รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
6)  ระบบอวัยวะ เป็นกลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกัน อวัยวะในระบบเดียวกันอาจมี
ความสัมพันธ์ร่วมกันได้หลายทาง แต่มักจะมีลักษณะหน้าที่การทำงานเกี่ยวข้องกัน เช่น ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการผลิต เก็บ และขับปัสสาวะออกมาจากร่างกาย
     หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ต่อมไฮโปทาลามัส
(Hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (Nervous System) และระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine System) หรือระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal System) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) และ ระบบโครงกระดูก (Skeletal System)

7)  ร่างกายมนุษย์ เกิดจากการรวมกันของระบบอวัยวะทุกระบบในร่างกาย

หน้าที่การทำงานของร่างกายมนุษย์

1)  หน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย เป็นหน้าที่ของระบบผิวหนัง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการห่อหุ้มปก
คลุมส่วนต่างๆ ของร่างกายไว้ ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และยังมีเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกอีกด้วย
2)  หน้าที่ค้ำจุนและเคลื่อนไหว เป็นหน้าที่ของระบบกระดูกและระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งจะ
คอยทำหน้าที่ในการค้ำจุนโครงสร่างของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เป็นแกนของร่างกายและทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้
3)  หน้าที่ในการประมวลผลและประสานงาน เป็นหน้าที่ของระบบประสาทและระบบ
ต่อมไร้ท่อ ระบบอวัยวะทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันในการรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย หลังจากนั้นจะทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณต่างๆ แล้วปรับสมดุลของร่างกาย โดยระบบประสาทจะทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณประสาทไปควบคุมอวัยวะต่างๆ ส่วนระบบต่อมไร้ท่อ จะทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนหรือสารเคมีต่างๆ ออกมาเพื่อไปควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายเช่นกัน
4)  หน้าที่ในการขนส่งสาร เป็นหน้าที่ของระบบหัวใจและหลอดเลือดและระบบ
น้ำเหลือง ทั้งสองระบบนี้เป็นระบบที่มีลักษณะเป็นท่อเชื่อมโยงทั่วร่างกาย และคอยขนส่งทั้งสารอาหาร ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน เอนไซม์ หรือสารอื่นๆ ไปตามหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง 
5)  หน้าที่ในการดูดซึมสารและขับถ่ายของเสีย เป็นหน้าที่ของระบบทางเดินอาหาร
ระบบหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งสามระบบนี้จะทำหน้าที่ประสานงานกัน ตั้งแต่การดูดซึมสารอาหาร ออกซิเจน และการขับถ่ายของเสียต่างๆ
6)  หน้าที่ในการสืบพันธุ์ เป็นหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์ โดยจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศ

หญิงและเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย เพื่อให้กำเนิดชีวิตใหม่และดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์

ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary System)

 ผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกาย คอยป้องกันอันตรายจากภายนอก ป้องกันสารแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอแลตจากดวงอาทิตย์ รับความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ความรู้สึกร้อนเย็น รับความรู้สึกสัมผัส ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นอวัยวะขับถ่าย คือ มีต่อมเหงื่อทำหน้าที่ขับเหงื่อและมีต่อมไขมันจะสร้างออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้งอีกด้วย นอกจากนี้ผิวหนังยังช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสงแดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
ผิวหนังของมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ หนังกำพร้าและหนังแท้
·       หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก
ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ซึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อนมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
                             นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานินปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ สีผิวของคนแต่ละคนจะมีสีผิวต่างกันเพราะมีจำนวนเม็ดสีเมลานินในหนังกำพร้าไม่เท่ากัน ถ้ามีมากจะทำให้ผิวสีดำ ถ้ามีน้อยจะทำให้ผิวสีขาว นอกจากนี้สีของเลือด ความหนาของผิวหนังก็มีส่วนกำหนดสีผิวด้วย
·       หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนา
กว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป
เล็บ ขน ผม เป็นส่วนที่เจริญเปลี่ยนแลง ไปจากผิวหนัง ส่วนประกอบอื่นๆของ
ผิวหนังที่เราต้องศึกษาด้วยก็คือ กล้ามเนื้อขนลุก ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และเหงื่อ
       
หมายเหตุ
                บริเวณผิวหนังที่ปกคลุมร่างกายของเรามีอวัยวะภายนอกที่สำคัญ เช่น
                        1. ตา หน้าที่ของตา ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสีและภาพ มีลักษณะกลมบรรจุในเบ้าตา ไม่ควรขยี้ตาแรง ๆ เมื่อมีฝุ่นละอองเข้ามา และควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
   
                    2. หู  หน้าที่ของหู หูเป็นอวัยวะสำคัญที่รับการสัมผัสเกี่ยวกับเสียงและการทรงตัว เราไม่ควรใช้ของแข็งแคะหู เมื่อหูผิดปกติเราต้องรีบไปพบหมอทันที
   
                    3. จมูก หน้าที่ของจมูก จมูกเป็นอวัยวะที่รับรู้เรื่องกลิ่น การดูแลรักษาจมูกไม่ใช้ของแข็งแคะจมูกหรือนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่จมูก

ระบบกระดูก (Skeletal System)

1) เป็นระบบที่ทำหน้าที่คอยค้ำจุนโครงสร้าง
ของร่างกาย และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ช่วยคงรูปร่างของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นแกนภายใน กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเซลล์ เส้นใยพังผืด และเกลือแร่ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งทำให้กระดูกมีทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
       ร่างกายของมนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้นแบ่งเป็น
·       กระดูกแกน 80 ชิ้น เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ
กระดูกซี่โครง
·       กระดูกรยางค์ จำนวน 126 ชิ้น เช่น กระดูกแขนขา สะบัก ไหปลาร้า เชิงกราน
กระดูกมีหน้าที่สำคัญ คือ
-      เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย
-      ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น
-      ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้
-      ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ ปอด
-      เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ การที่เราเคลื่อนไหวได้เป็นผลมาจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดกับกระดูก

ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก ข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้

กันมาเชื่อมต่อกันโดยมีเอ็นละกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเคลื่อน ไหวได้สะดวกขึ้น

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

1) กล้ามเนื้อทำให้ส่วนของร่างกาย
เคลื่อนไหวได้โดยการหดตัว กล้ามเนื้อ (Muscle) จัดเป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุกส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อบางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้ออีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
กล้ามเนื้อภายในร่างกายแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
กล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ
·       กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles)         กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อใน
อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อทั่วๆไป หรือกล้ามเนื้อแดงของร่างกาย กล้ามเนื้อนี้มีประมาณ 40% ของร่างกาย และอยู่ในอำนาจจิตใจภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง
                                     กล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตา ช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆ และยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้อง ตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
·       กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ที่อวัยวะต่างๆ
ภายในของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomic Nervous System) มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
·       กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles) กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบเป็นกล้ามเนื้อ
หัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจ มีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจาง เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ




การทำงานของกล้ามเนื้อ ได้แก่
-      การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว
-      การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้

พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อจะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว

ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)

1) อวัยวะต่างๆในระบบทางเดินอาหาร

ได้แก่ ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ช่อง ทวารหนัก ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน

ระบบหายใจ ( Respiratory System)

มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ หน้าที่สำคัญของระบบหายใจคือ การ
แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไปและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด อวัยวะในระบบหายใจ จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นทางผ่านของลมหายใจ ได้แก่ จมูก ปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ หลอดลมย่อยและแขนง และส่วนที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ คือ ถุงลม
การหายใจเข้าออก อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
·       จมูก (Nose) จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของ
ใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
·       หลอดคอ (Pharynx) เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่ง
เป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกไทรอยด์ ที่เราเรียกว่า “ลูกกระเดือก” ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
·       หลอดเสียง (Larynx) เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 ซม. ในผู้ชาย และ
3.5 ซม. ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
·       หลอดลม (Trachea) เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปใน
ทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Alveoli)
·       ปอด (Lung) และถุงลม (Alveoli) ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก
มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
                        ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
                        หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
ถุงลม (Alveoli) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็น
บริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
·       เยื่อหุ้มปอด (Pleura) เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็น
มันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่เล็กน้อย ซึ่งช่วยลดแรงเสียดสีระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่างเรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด








ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)

ในการศึกษาระบบสืบพันธุ์ของชาย จะต้องศึกษาถึงอัณฑะ ท่ออัณฑะ ต่อมเซนัลเวสิเคิล ท่อฉีดอสุจิ และต่อมลูกหมาก ถ้าเป็นระบบสืบพันธุ์ของหญิง จะต้องศึกษาถึง รังไข่ ท่อมดลูก มดลูก ช่องคลอด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก รวมทั้งต่อมนมเป็นกระบวนการผลิตสิ่งมีชีวิตที่จะแพร่ลูกหลานและดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ โดยต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโพทาลามัส โดยจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศชายและหญิงให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่
ความเป็นหนุ่มสาวพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้ ต่อมเพศในชาย คือ อัณฑะ ต่อมเพศในหญิง คือ รังไข่




ปัจจัยที่จำเป็นต่อการรักษาสมดุลร่างกาย

ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์นั้น จะสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เพื่อให้ร่างกายมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่อไปนี้
1)  น้ำ
2)  อาหาร
3)  ออกซิเจน
4)  พลังงานความร้อน

5)  ความดันที่เหมาะสม

การรักษาสมดุลของร่างกายในภาวะปกติ

แต่หากมีปัจจัยบางอย่างที่กระทบระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นจากปัจจัยภายนอก เช่น เชื้อโรค สารเคมี หรือปัจจัยที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายเราเอง เช่น ความชรา ความผิดปกติของพันธุกรรม ก็ย่อมส่งผลต่อความสมดุลในระบบอวัยวะต่างๆ หากเราต้องการมีสุขภาพดี สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือทำความเข้าใจต่อกลไกการทำงานต่างๆ ในร่างกาย

ลักษณะทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์ คือ ลักษณะทางกายและชีวภาพ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ โครงสร้างทุกระดับรวมกันเรียกว่าระบบอวัยวะ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายล้วนเป็นเรื่องน่าพิศวง โดยธรรมชาติได้มีการจัดระบบต่างๆขึ้นอย่างมีระเบียบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ มีการทำงานประสานกันอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อรู้วิธีดูแลรักษาให้ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงแก่ชีวิตของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อ้างอิง

ที่มา

(22 มิ.ย.2557) http://www.thaigoodview.com/node/59202

(22 มิ.ย.2557) http://chanya666.blogspot.com/2009/09/blog-post_23.html

(22 มิ.ย.2557) http://talung.pt.ac.th/ptweb/studentweb/body/arweb/c5/index.htm

(22 มิ.ย.2557) http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson6.php

(22 มิ.ย.2557) หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา