วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary System)

 ผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกาย คอยป้องกันอันตรายจากภายนอก ป้องกันสารแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอแลตจากดวงอาทิตย์ รับความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ความรู้สึกร้อนเย็น รับความรู้สึกสัมผัส ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นอวัยวะขับถ่าย คือ มีต่อมเหงื่อทำหน้าที่ขับเหงื่อและมีต่อมไขมันจะสร้างออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้งอีกด้วย นอกจากนี้ผิวหนังยังช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสงแดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
ผิวหนังของมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ หนังกำพร้าและหนังแท้
·       หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก
ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ซึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อนมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
                             นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานินปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ สีผิวของคนแต่ละคนจะมีสีผิวต่างกันเพราะมีจำนวนเม็ดสีเมลานินในหนังกำพร้าไม่เท่ากัน ถ้ามีมากจะทำให้ผิวสีดำ ถ้ามีน้อยจะทำให้ผิวสีขาว นอกจากนี้สีของเลือด ความหนาของผิวหนังก็มีส่วนกำหนดสีผิวด้วย
·       หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนา
กว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป
เล็บ ขน ผม เป็นส่วนที่เจริญเปลี่ยนแลง ไปจากผิวหนัง ส่วนประกอบอื่นๆของ
ผิวหนังที่เราต้องศึกษาด้วยก็คือ กล้ามเนื้อขนลุก ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และเหงื่อ
       
หมายเหตุ
                บริเวณผิวหนังที่ปกคลุมร่างกายของเรามีอวัยวะภายนอกที่สำคัญ เช่น
                        1. ตา หน้าที่ของตา ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสีและภาพ มีลักษณะกลมบรรจุในเบ้าตา ไม่ควรขยี้ตาแรง ๆ เมื่อมีฝุ่นละอองเข้ามา และควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
   
                    2. หู  หน้าที่ของหู หูเป็นอวัยวะสำคัญที่รับการสัมผัสเกี่ยวกับเสียงและการทรงตัว เราไม่ควรใช้ของแข็งแคะหู เมื่อหูผิดปกติเราต้องรีบไปพบหมอทันที
   
                    3. จมูก หน้าที่ของจมูก จมูกเป็นอวัยวะที่รับรู้เรื่องกลิ่น การดูแลรักษาจมูกไม่ใช้ของแข็งแคะจมูกหรือนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่จมูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น